สร้างการเปลี่ยน Kotter's 8 Step Change ที่ผู้เรียนดนตรีและเรียนเปียโนหรือผู้สอนดนตรีสอนเปียโนควรทราบ
- Tiga studio
- Dec 12, 2022
- 1 min read
Updated: Dec 15, 2023

สร้างการเปลี่ยน Kotter's 8 Step Change ที่ผู้เรียนดนตรีและเรียนเปียโนหรือผู้สอนดนตรีสอนเปียโนควรทราบ
แท้จริงแล้วหลักการของ Kotter's 8 Step Change นี้มักนำมาใช้กับองค์กรที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง แต่เราก็ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ ลูกๆหลานๆของเราเพื่อใช้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลูกหลานของเราไปในเชิงบวก
ในที่นี้ครูอั้มเปียโนจะขอยกตัวอย่างการใช้หลักการข้างต้นในการเปลี่ยนแปลงใจเด็กนักเรียนให้อยากเรียนเปียโนและฝึกซ้อมได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืนครับ
ก่อนอื่นเรามารู้จักหลักทั้ง 8 อย่างเพื่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงกันก่อนครับ
1.สร้างความรู้สึกเร่งด่วน
2.สร้างแนวร่วมหรือทีมสำหรับการเปลี่ยนแปลง
3.สร้างวิสัยทัศน์
4.สื่อสารวิสัยทัศน์
5.กำจัดอุปสรรค
6.สร้างความสำเร็จระยะสั้น
7.ขยายผลการเปลี่ยนแปลง
8.เพิ่มการเปลี่ยนแปลงลงใยวัฒนธรรมองค์กร
ปรกติแล้วหลักการนี้ใช้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กรใช่ไหมครับ แล้วเราจะเอามาใช้เปลี่ยนใจลูกน้อยให้อยากเล่นเปียโนหรือมีวินัยฝึกซ้อมเปียโนด้วยตนเองได้อย่างไร เราลองเอาหลักการของ Kotter's 8- Step Change Model มาประยุกต์ใช้จะได้ดังนี้ครับ
1.สร้างความรู้สึกเร่งด่วน
เช่น สร้างความรู้สึกเร่งด่วนว่ามีงานแสดงปลายปีนะต้องไปเล่นให้บุคคลที่คิดว่าน้องๆอยากจะคำชื่นชม หรือถ้าได้รับคำชมจากบุคคลนั้นๆแล้วจะเป็นผลบวกกับน้องๆ ด้วยวิธีการนี้เหมือนเราจะกระตุ้นและสร้างความรู้สึกเร่งด่วนในการซ้อมให้น้องๆได้แล้วว่าต้องซ้อมเพลงอะไร ซ้อมไปเพื่ออะไร และต้องซ้อมนานเท่าไหร่ เพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายว่าเล่นเพลงนี้ให้ได้ดีมากๆก่อนถึงวันที่เท่าไหร่ ด้วยการสร้างความรู้สึกเร่งด่วนนี้น้องๆจะขยันซ้อมขึ้นมากเลยทีเดียว
2.สร้างแนวร่วมหรือทีมสำหรับการเปลี่ยนแปลง
ในที่นี้เราอาจใช้คนในครอบครัว เช่น ถ้าคุณเป็นคุณแม่ อาจขอความร่วมมือจาก คุณคุณพ่อและสมาชิคครอบครัวท่านอื่นๆและพี่เลี้ยงของน้องๆมาสร้างแนวร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นทีมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของน้องๆให้ตั้งใจเรียนเปียโนและซ้อมเปียโน ด้วยวิธีการนี้จะทำให้เรามีทีมช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงและแสดงให้น้องๆเห็นว่าคนจำนวนมากในครอบครัวมีความเห็นไปในทางเดียวกันและเป็นการช่วยสร้างแรงจูงใจให้น้องๆและยังมีคนอื่นๆในทีมที่มีไว้คอยกระตุ้นจุดไฟให้ติดอีกครั้ง ในยามที่น้องๆไฟตกลงด้วยครับ
3.สร้างวิสัยทัศน์
ในส่วนนี้เราจะต้องเป้าหมายก่อนว่าผลลัพธ์ของการแสดงออกมาเป็นรูปแบบไหน โดยจุดนี้ท่านผู้ปกครองอาจร่วมมือกันคิดหรือวาดภาพฝันที่ต้องการจะให้น้องๆเล่นเปียโน ได้ในระดับไหน ในระยะเวลาที่จำจุดเป็นเป้าหมายแรกที่ไม่ยากจนเกินไปและมีความเป็นไปได้สำหรับผู้เรียนในระดับนนั้นๆ
การสร้างวิสัยทัศน์นั้นควรมีผู้เชี่ยวชาญร่วมช่วยคิดว่าสิ่งที่จะทำเป็นไปได้ไหมในระยะเวลาเท่านี้เพราะหลายครั้งที่การตั้งเป้าหมายยากเกินไปอาจทำให้ผู้เรียนท้อเสียก่อน ทางที่ดีหากเรามีเป้าหมายใหญ่และยากในการทำให้เกิดขึ้นจริง เราควรซอยแบ่งเป้าหมายเหล่านั้นเป็นเป้าหมายย่อยๆ แล้วค่อยๆไปให้ถึงตามระยะเวลาที่กำหนดที่ละเป้าหมาย เมื่อทำแบบนี้เป้าหมายใหญ่ของวิสัยทัศน์ก็จะไม่ไกลเกินเอื้อมครับ
4.สื่อสารวิสัยทัศน์
นี่คือสิ่งที่สำคัญมากๆที่ผู้ปกครองควรทำเพื่อให้น้องๆเข้าใจและเห็นภาพเดียวกันกับวิสัยทัศน์ของผู้ปกครองว่าอยากให้น้องเล่นเปียโนได้แบบไหน ระดับไหน ในระยะเวลาเท่าไหร่ และการที่น้องทำได้จะส่งผลดีอย่างไรกับตัวน้องกับครอบครัว หรือกับผู้อื่นๆ ซึ่ง
ปัญหาที่พบมากในการเรียนเปียโนในเด็ก คือ ไม่เข้าใจว่าทำไปทำไมและฝึกไปทำไม หรือฝึกไปแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการขาดการสื่อสารที่ดีทำให้น้องๆเด็กเล็กๆ นั้นไม่เข้าใจว่าจะทำไปทำไม ทำเพื่ออะไร ทำไปแล้วจะเป็นอย่างไร มีผลดีกับตัวน้องๆเหล่านั้นอย่างไร ซึ่งการสื่อสารกับน้องๆที่เป็นเด็กเล็กๆนั้นทำควรทำหลายครั้งเพราะน้องๆในวัยนี้อาจลืมง่าย และเลือกทำในเวลาที่น้องๆอารมณ์ดีพร้อมเปิดใจรับข้อมูล ซึ่งจะทำให้น้องๆไม่ปิดกั้นหรือต่อต้านครับ การเลือกเวลาในการสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ และควรสร้างบรรยากาศให้การสื่อสารนั้นสนุกสนานไม่เครียดด้วยครับเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดกับน้องๆ
5.กำจัดอุปสรรค
ในขั้นตอนนี้ผู้ปกครองควรกำจัดสิ่งที่จะเป็นปัญหาหรืออาจสร้างปัญหาต่อการซ้อมเปียโนของน้องๆ หรือไม่นำสิ่งที่จะดึงความสนใจไปจากเด็กๆในช่วงเวลาฝึกซ้อมมาอยู่ใกล้ๆ เพื่อให้เด็กๆของท่านมีความสามารถในการ Focus และซ้อมได้อย่างมีพัฒนาการมากที่สุด
6.สร้างความสำเร็จระยะสั้น
ขั้นตอนนี้ว่าด้วยการที่เราต้องมีการเฉลิมฉลองให้กำความสำเร็จในระยะสั้นบ้าง ในตอนแรกหากทุกท่านจำได้หากเป้าหมายเรายิ่งใหญ่ เราจะซอยเป้าเป็นเป้าย่อยๆใช่ไหมครับ หลังจากนั้นเมื่อเราไปถึง Goal ย่อยๆเราควรมีการฉลองบ้างเล็กๆน้อยๆ เช่น พาไปเที่ยว หรือ ขนมอร่อยๆ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และชื่นชมน้องๆว่าที่ผ่านมาเขาทำได้ดีมาก
7.ขยายผลการเปลี่ยนแปลง
โดยการทำเหมือนเดิมแต่เราอาจเปลี่ยนเป้าหมายในการแสดงของน้องๆให้ยากมากขึ้น แต่อย่ายากจึงเกินไปนะครับ โดยขั้นตอนนี้ควรมีคุณครูหรือผู้เชี่ยวชาญช่วยร่วมวางแผนเพื่อให้ได้เป้าหมายสำหรับขยายผลการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ง่ายเกินไป แต่ไม่ยากจนเกินไปเพื่อไม่ให้น้องๆเบื่อหรือท้อเสียก่อน
8.เพิ่มการเปลี่ยนแปลงลงไปวัฒนธรรมองค์กร(ในที่นี้ก็คือกับครอบครัวที่จะส่งผลต่อการฝึกเปียโนของน้องๆนี่แหละครับ)
ขั้นนี้ว่าด้วยการพยายามสร้างกิจกรรมการซ้อมเปียโนให้เป็นนิสัยกับน้องๆ โดยถ้าทำได้เกิน 21 วันมันก็จะกลายเป็นนิสัยที่ฝังติดตัวไปแล้วครับ และในอนาคตน้องๆจะอยากพัฒนาตนเองและอยากเรียนรู้เปียโนในระดับที่ยากยิ่งๆขึ้นไปอีกด้วย
ไม่เพียงแต่กระบวนการของ Kotter's 8- Step Change Model สามารถนำไปใช้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างหลากหลาย เช่น ท่านผู้ปกครองอาจนำไปใช้กับการศึกษาในวิชาอื่นๆเพิ่มเติมก็ได้ครับ สิ่งที่สำคัญ คือ การวางกลยุทธ์ในการเปลี่ยนใจน้องๆ และการสื่อสารให้น้องๆเข้าใจถึงคุณค่าที่น้องๆจะได้รับเมื่อฝึกฝนวิธีนั้นๆจนเข้าใจ และให้น้องๆเห็นถึงประโยชน์ของสิ่งที่ฝึกอยู่ จะทำให้น้องๆอยากทำด้วยตนเองในที่สุดและกลายเป็นเด็กๆที่ชอบและรักการเรียนรู้ครับ
สร้างการเปลี่ยน Kotter's 8 Step Change ที่ผู้เรียนดนตรีและเรียนเปียโนหรือผู้สอนดนตรีสอนเปียโนควรทราบ
--------------------------------
หากใครสนใจเรียนตัวต่อตัวทาง Tiga Studio ของเราในช่วงนี้มีโปรโมชั่นลด 30% จากเดิมชั่วโมงละ 1000 บาท เหลือเพียง 700 บาท เปิดรับนักเรียนจำนวนจำกัดเพียง 10 คนนะครับ เพราะครูอั้มเปียโนเวลาใกล้เต็มแล้วครับจองด่วนครับ !!!
Line : aum080808
Mobile : 084-1119531
อ่านบทความเกี่ยวกับการเรียนเปียโนได้เพิ่มเติมที่
#tigastudio #piano #onlinepiano #onlinejazzpiano #onlinepoppiano #onlineclassicpiano #pianotutorial #pianolesson #ครูอั้มเปียโน #ครูเสือเปียโน #pianojazz #pianopop #poppiano #music #classic #ครูสอนเปียโนรังสิต #ครูสอนเปียโนปทุมธานี #ครูสอนเปียโนดอนเมือง #ครูสอนเปียโนเมืองเอก
留言